วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ Recorder

การฝึกปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ Recorder

การฝึกปฏิบัติ
เครื่องดนตรีสากล(ขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ : Recorder)
การบรรเลงเครื่องดนตรี เป็นกิจกรรมแสดงออกทางดนตรี แสดงถึงความรู้ด้านดนตรี ความซาบซึ้ง ความมีสุนทรียภาพ สามารถถ่ายทอดความรู้สึกด้วยการบรรเลงเพลงจากเครื่องดนตรี การฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีต้องอาศัยทักษะด้วยความตั้งใจ มีสมาธิ และฝึกบ่อยครั้งจนให้เกิดความชำนาญ
สาระการเรียนรู้
การฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล (ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ : Recorder)
กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
ฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล (ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ : Recorder)
การฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล (ขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ : Recorder)

การฝึกขลุยรีคอร์เดอร์ (Recorder)
การจับขลุ่ยรีคอร์ดอร์
1. จับขลุ่ย โดยให้มือซ้าย (Left Hand) อยู่ด้านบนของขลุ่ยด้านปากเป่า โดยนิ้วชี้ นิ้วกลางนิ้วนาง แทนด้วยเลข 1 2 และ 3 ตามลำดับ นิ่วหัวแม่มือปิดที่รูเสียงด้านหลัง
2. มือขวา (Right Hand) จะใช้ 4 นิ้ว วางข้างล่างมือซ้าย คือ นิ้วชี้มือขวาเลข 1 นิ้วกลางมือขวาเลข 2 นิ้วนางมือขวาเลข 3 นิ้วก้อยมือขวาเลข 4 โดยใช้นิ้วมือขวาจับประคองขลุ่ยไว้
3. การเป่า ควรฝึกการควบคุมลม ลมที่เป่าต้องสม่ำเสมอ เป่าออกเสียงให้ตำแหน่งลิ้นเหมือนพูดคำว่า ทู “too” ใช้ลมเป่าพอประมาณ ไม่เป่าด้วยลมที่แรงหรือลมที่เบาเกินไป
   
ผังการวางตำแหน่งนิ้ว Recorder

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
1. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-4 คน เลือกบทเพลงสั้นๆ ที่สนใจจากหนังสือเรียน หรือจากบทเพลงที่สืบค้นจากแหล่งความรู้อื่นๆ ฝึกซ้อมร่วมกันจนเกิดความชำนาญ แล้วนำมาแสดงหน้าชั้นเรียนโดยครูให้คำแนะนำ
2. นักเรียนเลือกบทเพลงจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เช่น จากการสืบค้นในเว็บไซต์ต่างๆ ของขลุ่ยรีคอร์เดอร์จากห้องสมุด หรือจากผู้รู้ภูมิปัญญาในท้องถิ่น ฝึกเล่นจนเกิดความชำนาญ และนำมาแสดงหน้าชั้นเรียนโดยให้เพื่อนและครูวิจารณ์ แนะนำการบรรเลงเพื่อนำไปปรับปรุง

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้
1. ถ้านักเรียนเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ด้วยลมที่แรงเกินไป เสียงที่ได้จะเป็นอย่างไร
2. ในการปฏิบัติเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ต้องฝึกอะไร อย่างไร อธิบาย

การดูแลรักษาขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์

การดูแลรักษาเครื่องดนตรีสากล
การรู้จักดูแลรักษาเครื่องดนตรีหลังจากการใช้งานอย่างถูก วิธี เครื่องดนตรีจะต้องมีความสะอาดมีสภาพพร้อมที่จะใช้งานตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยให้มีคุณภาพเสียงและมีอายุการใช้งานของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดนาน ขึ้น
สาระการเรียนรู้
                การดูแลรักษาขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ (Recorder)
กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
                บอวิธีใช้และบำรุงรักษาขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ (Recorder) อย่างถูกวิธี
  
การดูแลรักษาขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ (Recorder)
ส่วนประกอบของขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์
การดูแลรักษาขลุ่ยรีคอร์เดอร์ (Recorder)
ประโยชน์ในการดูแลรักษาทำความสะอาดเครื่องดนตรี
เพื่อยืดอายุการใช้งานเครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีสะอาดไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้เล่น
หลังจากการเล่นหรือใช้งานผู้เล่นควรปฏิบัติดังนี้
1. นำขลุ่ยซึ่งส่วนมากทำด้วยพลาสติกไฟเบอร์กลาสล้างด้วยน้ำอุ่นโดยผสมน้ำสบู่อ่อนๆ หรือล้างด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งหลังการใช้งาน
2. การต่อประกอบหรือดึงข้อต่อขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ควรถอดข้อต่อด้วยการค่อยๆ หมุนออกตามเข็มนาฬิกา ท่อนส่วนหัว (Head Joint)ที่ล้างสะอาดแล้วเช็ดด้วยผ้านุ่มที่สะอาดให้แห้ง ห้ามใช้การสะบัดให้แห้งเพราะขลุ่ยรีคอร์เดอร์อาจแยกหลุดออกจากกัน หล่นแตกได้ง่าย
3. การทำความสะอาดเช็ดด้วยผ้าที่นุ่มที่ส่วนกลาง(Middle Joint) และส่วนท้าย (Foot Joint) ด้วยวิธีการถอดข้อต่อออกจากกัน อาจจะใช้ไม้หรือแท่งพลาสติกทำความสะอาดสอดผ้าเช็ดข้างในตัวขลุ่ยใหัสะอาด
4. เมื่อเห็นว่าแห้งดีแล้วควรทาวาสลินที่บริเวณข้อต่อต่างๆเพื่อให้ข้อต่อง่ายต่อการประกอบเข้าด้วยกัน และไม่แน่นเกินไปเมื่อถอดทำความสะอาด
5. ควรเก็บใส่ซองหรือกล่องที่มากับตัวเครื่องให้เป็นระเบียบโดยวางไว้บริเวณที่ไม่ตกหล่น

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
๑.      นักเรียนศึกษาหรือสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เกี่ยวกับการดูแลรักษาขลุ่ยที่ไม่ได้ทำด้วยไฟเบอร์กลาสเชน ขลุ่ยไทย ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกันแต่ทำด้ายไม้ ว่ามีการดูแลรักษาอย่างไร เมื่อได้ข้อมูลให้นำเสนอครูและเพื่อนร่วมชั้น
๒.    นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน เขียนผลเสียที่เกิดกับเครื่องดนตรีที่ไม่ทำความสะอาดขาดการดูแลลงในกระดาษให้ได้มากที่สุด ตัวแทนกลุ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียน
คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้
ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
๑.      นักเรียนคิดว่าถ้าใช้เครื่องดนตรีแล้วไม่ดูแลรักษาความสะอาดจะเกิดความเสียหายกับเครื่องดนตรีนั้นๆอย่างไร
๒.    ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ที่ทำด้วยไฟเบอร์กลาสทำความสะอาดด้วยวิธีใด