วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ Recorder

การฝึกปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ Recorder

การฝึกปฏิบัติ
เครื่องดนตรีสากล(ขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ : Recorder)
การบรรเลงเครื่องดนตรี เป็นกิจกรรมแสดงออกทางดนตรี แสดงถึงความรู้ด้านดนตรี ความซาบซึ้ง ความมีสุนทรียภาพ สามารถถ่ายทอดความรู้สึกด้วยการบรรเลงเพลงจากเครื่องดนตรี การฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีต้องอาศัยทักษะด้วยความตั้งใจ มีสมาธิ และฝึกบ่อยครั้งจนให้เกิดความชำนาญ
สาระการเรียนรู้
การฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล (ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ : Recorder)
กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
ฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล (ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ : Recorder)
การฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล (ขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ : Recorder)

การฝึกขลุยรีคอร์เดอร์ (Recorder)
การจับขลุ่ยรีคอร์ดอร์
1. จับขลุ่ย โดยให้มือซ้าย (Left Hand) อยู่ด้านบนของขลุ่ยด้านปากเป่า โดยนิ้วชี้ นิ้วกลางนิ้วนาง แทนด้วยเลข 1 2 และ 3 ตามลำดับ นิ่วหัวแม่มือปิดที่รูเสียงด้านหลัง
2. มือขวา (Right Hand) จะใช้ 4 นิ้ว วางข้างล่างมือซ้าย คือ นิ้วชี้มือขวาเลข 1 นิ้วกลางมือขวาเลข 2 นิ้วนางมือขวาเลข 3 นิ้วก้อยมือขวาเลข 4 โดยใช้นิ้วมือขวาจับประคองขลุ่ยไว้
3. การเป่า ควรฝึกการควบคุมลม ลมที่เป่าต้องสม่ำเสมอ เป่าออกเสียงให้ตำแหน่งลิ้นเหมือนพูดคำว่า ทู “too” ใช้ลมเป่าพอประมาณ ไม่เป่าด้วยลมที่แรงหรือลมที่เบาเกินไป
   
ผังการวางตำแหน่งนิ้ว Recorder

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
1. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-4 คน เลือกบทเพลงสั้นๆ ที่สนใจจากหนังสือเรียน หรือจากบทเพลงที่สืบค้นจากแหล่งความรู้อื่นๆ ฝึกซ้อมร่วมกันจนเกิดความชำนาญ แล้วนำมาแสดงหน้าชั้นเรียนโดยครูให้คำแนะนำ
2. นักเรียนเลือกบทเพลงจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เช่น จากการสืบค้นในเว็บไซต์ต่างๆ ของขลุ่ยรีคอร์เดอร์จากห้องสมุด หรือจากผู้รู้ภูมิปัญญาในท้องถิ่น ฝึกเล่นจนเกิดความชำนาญ และนำมาแสดงหน้าชั้นเรียนโดยให้เพื่อนและครูวิจารณ์ แนะนำการบรรเลงเพื่อนำไปปรับปรุง

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้
1. ถ้านักเรียนเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ด้วยลมที่แรงเกินไป เสียงที่ได้จะเป็นอย่างไร
2. ในการปฏิบัติเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ต้องฝึกอะไร อย่างไร อธิบาย

การดูแลรักษาขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์

การดูแลรักษาเครื่องดนตรีสากล
การรู้จักดูแลรักษาเครื่องดนตรีหลังจากการใช้งานอย่างถูก วิธี เครื่องดนตรีจะต้องมีความสะอาดมีสภาพพร้อมที่จะใช้งานตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยให้มีคุณภาพเสียงและมีอายุการใช้งานของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดนาน ขึ้น
สาระการเรียนรู้
                การดูแลรักษาขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ (Recorder)
กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
                บอวิธีใช้และบำรุงรักษาขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ (Recorder) อย่างถูกวิธี
  
การดูแลรักษาขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ (Recorder)
ส่วนประกอบของขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์
การดูแลรักษาขลุ่ยรีคอร์เดอร์ (Recorder)
ประโยชน์ในการดูแลรักษาทำความสะอาดเครื่องดนตรี
เพื่อยืดอายุการใช้งานเครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีสะอาดไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้เล่น
หลังจากการเล่นหรือใช้งานผู้เล่นควรปฏิบัติดังนี้
1. นำขลุ่ยซึ่งส่วนมากทำด้วยพลาสติกไฟเบอร์กลาสล้างด้วยน้ำอุ่นโดยผสมน้ำสบู่อ่อนๆ หรือล้างด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งหลังการใช้งาน
2. การต่อประกอบหรือดึงข้อต่อขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ควรถอดข้อต่อด้วยการค่อยๆ หมุนออกตามเข็มนาฬิกา ท่อนส่วนหัว (Head Joint)ที่ล้างสะอาดแล้วเช็ดด้วยผ้านุ่มที่สะอาดให้แห้ง ห้ามใช้การสะบัดให้แห้งเพราะขลุ่ยรีคอร์เดอร์อาจแยกหลุดออกจากกัน หล่นแตกได้ง่าย
3. การทำความสะอาดเช็ดด้วยผ้าที่นุ่มที่ส่วนกลาง(Middle Joint) และส่วนท้าย (Foot Joint) ด้วยวิธีการถอดข้อต่อออกจากกัน อาจจะใช้ไม้หรือแท่งพลาสติกทำความสะอาดสอดผ้าเช็ดข้างในตัวขลุ่ยใหัสะอาด
4. เมื่อเห็นว่าแห้งดีแล้วควรทาวาสลินที่บริเวณข้อต่อต่างๆเพื่อให้ข้อต่อง่ายต่อการประกอบเข้าด้วยกัน และไม่แน่นเกินไปเมื่อถอดทำความสะอาด
5. ควรเก็บใส่ซองหรือกล่องที่มากับตัวเครื่องให้เป็นระเบียบโดยวางไว้บริเวณที่ไม่ตกหล่น

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
๑.      นักเรียนศึกษาหรือสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เกี่ยวกับการดูแลรักษาขลุ่ยที่ไม่ได้ทำด้วยไฟเบอร์กลาสเชน ขลุ่ยไทย ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกันแต่ทำด้ายไม้ ว่ามีการดูแลรักษาอย่างไร เมื่อได้ข้อมูลให้นำเสนอครูและเพื่อนร่วมชั้น
๒.    นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน เขียนผลเสียที่เกิดกับเครื่องดนตรีที่ไม่ทำความสะอาดขาดการดูแลลงในกระดาษให้ได้มากที่สุด ตัวแทนกลุ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียน
คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้
ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
๑.      นักเรียนคิดว่าถ้าใช้เครื่องดนตรีแล้วไม่ดูแลรักษาความสะอาดจะเกิดความเสียหายกับเครื่องดนตรีนั้นๆอย่างไร
๒.    ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ที่ทำด้วยไฟเบอร์กลาสทำความสะอาดด้วยวิธีใด

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ระบบ มิดิ

มิดิ


ชื่อโน้ตและหมายเลขโน้ตมิดิ
มิดิ หรือ มาตรฐานการประสานเครื่องดนตรีแบบดิจิทัล [1] (อังกฤษ: Music Instrument Digital Interface: MIDI) เป็นโพรโทคอลมาตรฐานที่คิดค้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2525[2] โดยเป็นระบบการติดต่อสื่อสารทางดนตรี ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทางดนตรี เช่น คอมพิวเตอร์ ซินธิไซเซอร์ ซีเควนเชอร์ ซาวด์โมดูล แซมเพลอร์ ซึ่งใช้สัญญาณไฟฟ้าแบบดิจิตอล ในการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ โดยจะมีความหมายเป็นโน้ตดนตรี และค่าการควบคุมลักษณะเสียงต่างๆ
ไฟล์ MIDI ไม่ได้มีการเก็บเสียงดนตรีใดๆไว้เหมือนอย่างเทปเพลงหรือซีดีเพลง ข้อมูลทั้งหมดจะอยู่ในรูปของคำสั่งที่จะไปสั่งเครื่อง ดนตรีว่า ให้เปล่งเสียงโน้ตตัวใด(Note ON), ด้วยระดับความดังแค่ใหน(Velocity) และคำสั่งอื่นๆ ตามคุณสมบัติเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด ด้วยเหตุที่เป็นไฟล์คำสั่งนี่เองทำให้มันมีขนาดที่เล็กมากๆ แผ่นดิสก์ 3.5 นิ้วเพียงแผ่นเดียวก็สามารถเก็บไฟล์ MIDI ได้หลายสิบเพลง และจากความที่มันเป็นไฟล์คำสั่งแบบดิจิตอลนี่เอง นักคอมพิวเตอร์จึงสามารถนำข้อมูลดิจิตอลนี้มาพัฒนาด้วย จนในที่สุดทั้งคอมพิวเตอร์และเครื่องดนตรีก็สื่อสารกันได้อย่างสมบูรณ์โดย ผ่านระบบ MIDI นี่เอง

General MIDI[แก้]

ในปี พ.ศ. 2526 เมื่อมาตรฐานการเชื่อมต่อ MIDI ออกมาใหม่ๆ ได้สร้างความเป็นไปได้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์สร้างเสียงดนตรี อุปกรณ์ควาบคุม และอุปกรณ์บันทึกที่หลากหลายเข้าด้วยกัน, ทำให้เกิดการแข่งขันขึ้นระหว่างผู้ผลิตเครื่องดนตรีหลายๆ เจ้า เพื่อใช้ประโยชน์จากมาตรฐานนี้, แต่เนื่องจากมาตรฐาน MIDI เป็นมาตรฐานการส่งคำสั่งควบคุมทางไฟฟ้าเท่านั้น ไม่ได้มีการกำหนดไว้ตายตัวว่าการใช้งานคำสั่งย่อยต่างๆ จะต้องตีความอย่างไร หรือหมายเลขเครื่องดนตรีที่อยู่ในคำสั่งนั้น หมายถึงเสียงเครื่องดนตรีใด, ทำให้ผู้ผลิตแต่ละบริษัทใช้รูปแบบการตั้งค่าคำสั่งที่แตกต่างกันมาก หากนำมาใช้ร่วมกันจะทำให้เสียงผิดเพี้ยน, ทำให้เมื่อนักดนตรีเลือกใช้เครื่องดนตรี หรืออุปกรณ์ควบคุมยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งแล้ว จะไม่สามารถนำเครื่องดนตรีและอุปกรณ์ควบคุมยี่ห้ออื่นๆ มาใช้งานร่วมกันผ่านระบบ MIDI ได้, จนสร้างความอึดอัดใจให้กับนักดนตรีทั่วๆ ไป เป็นอย่างมาก
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2534 ได้มีการประกาศมาตรฐานเกี่ยวกับการใช้ชุดคำสั่ง MIDI ออกมาเป็นครั้งแรก โดยมีชื่อเรียกว่า The General MIDI System Level 1 หรือเรียกกันทั่วไปว่า General MIDI (GM) อันเกิดจากความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้ผลิตในญี่ปุ่นที่เรียกตัวเองว่า Japanese MIDI Standards Committee (JMSC) กับกลุ่มผู้ผลิตทางอเมริกาที่ชื่อว่า American MIDI Manufacturers Association (MMA)
มาตรฐาน GM ประกอบด้วยสาระสำคัญเรื่องการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของการรองรับคำสั่ง MIDI (เช่น ต้องรองรับการปรับความดังตัวโน้ต และต้องเล่นได้อย่างน้อย 24 โน้ตพร้อมกัน) รวมทั้งกำหนดเสียงเครื่องดนตรีที่ใช้ใน MIDI ทั้งหมด 128 ชนิด ซึ่งจะรวมเสียงของเครื่องดนตรีจริงๆ และเสียงเอฟเฟคต์ต่างๆ เช่นเสียงปรบมือ เสียงฝนตก ฯลฯ เอาไว้ด้วย โดยหมายเลขของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดจะเรียกว่า Patch และมีการแบ่ง Patch ออกเป็นกลุ่มๆ ดังต่อไปนี้:
  1. Piano
  2. Chromatic Percussion
  3. Organ
  4. Guitar
  5. Bass
  6. Strings
  7. Ensemble
  8. Brass
  9. Rreed
  10. Pipe
  11. Synth Lead
  12. Synth Pad
  13. Synth Effects
  14. Ethnic
  15. Percussive
  16. Sound Effects
ในแต่ละกลุ่มยังแบ่งย่อยๆ ไปอีกกลุ่มละ 8 ชนิด เช่น ในกลุ่มของเปียโน ก็จะมีเสียงของเปียโนชนิดต่างๆ อีก 8 ชนิด หรือในกลุ่มของ Brass ก็ประกอบด้วย ทรัมเป็ต, ทรอมโบน และเครื่องเป่าอื่นๆ อีกรวม 8 ชนิด เป็นต้น
เมื่อมาตรฐาน GM ออกมา ก็ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย จนในที่สุดเครื่องดนตรีและอุปกรณ์ควบคุมต่างๆ จากบริษัทผู้ผลิตทั่วโลกก็สามารถนำมาผสมผสานและเล่นร่วมกันได้ในระบบ MIDI โดยอาศัยมาตรฐานนี้, และนอกจากการใช้งานกับเครื่องดนตรีแล้ว มาตรฐานนี้ก็ถูกนำมาใช้ในวงการคอมพิวเตอร์ด้วย เช่นการ์ดเสียงคอมพิวเตอร์ที่ระบุว่ารองรับมาตรฐาน GM ก็จะสามารถเล่นเพลงที่บันทึกมาจากเครื่องดนตรี หรือแต่งเพลงแล้วนำไปเล่นกับเครื่องดนตรีในมาตรฐาน GM ได้ โดยไม่มีปัญหาเรื่องเสียงของเครื่องดนตรีไม่ตรงกัน

GS[แก้]

มาตรฐาน GM ถูกใช้งานกันมานานด้วยความเรียบร้อยดี อยู่ต่อมาเมื่อบทเพลงต่างๆเริ่มต้องการเสียงที่วิจิตรพิสดารมากขึ้น บริษัทผู้ผลิตเครื่องดนตรีชั้นนำของโลกบริษัทหนึ่งที่ชื่อว่า ROLAND CORPERATION เริ่มรู้สึกว่าเสียงของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ ในมาตรฐานเดิมนั้นไม่พอใช้เสียแล้ว จึงได้ทำการเพิ่มเติมเสียงของเครื่องดนตรีบางชนิดเข้าไปกับมาตรฐาน GM อีก โดยใช้ชื่อมาตรฐาน อันใหม่นี้ว่า มาตรฐาน GS ซึ่งยังคงมีกลุ่มเสียงทั้งหมด 16 กลุ่มเท่าเดิม แต่ในแต่ละกลุ่มจะมีเสียงเพิ่มเข้ามาอีก จากเดิม 128 เสียง เพิ่มมาเป็น 189 เสียง
จาก ความแตกต่างของ GM และ GS นี่เองทำให้เกิดปัญหาเล็กๆตามมา นั่นก็คือหากใครมีเพลงรุ่นใหม่ๆที่สร้างขึ้นภายใต้มาตรฐาน GS แล้ว เมื่อนำไปเล่นกับเครื่องดนตรีหรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้มาตรฐาน GM อยู่อาจจะให้เสียงไม่ครบหรือไม่ถูกต้องตาม ต้นฉบับก็ได้ แต่ถ้าหากเพลงนั้นถูกสร้างขึ้นภายใต้มาตรฐาน GM เมื่อนำไปเล่นบนเครื่องที่เป็นมาตรฐาน GS ก็ยังคงให้เสียงได้ครบถ้วนอยู่เหมือนเดิม เพราะว่าในมาตรฐาน GS ยังคงมีเสียงจากมาตรฐาน GM อยู่ครบนั่นเอง
หัน มาดูทางด้านคอมพิวเตอร์ของเรากันบ้าง ดูเหมือนว่าบริษัทผู้ผลิตซาวด์การ์ดที่ใช้กับคอมพิวเตอร์จะไม่ค่อยได้ติดตาม ข่าวคราว ในวงการดนตรีสักเท่าไรนัก หรืออาจเป็นเพราะว่าไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจเอาไว้ก่อนว่าจะมีใครเอา ซาวด์การ์ดมาใช้เล่นเพลง เล่นดนตรีกันทั่วบ้านทั่วเมืองแบบนี้ก็ได้ เลยเป็นผลทำให้ซาวด์การ์ดจำนวนมากยังคงใช้ชิพกำเนิดเสียงเครื่องดนตรีตาม มาตรฐาน GM กันอยู่ สังเกตได้จากราคาที่ค่อนข้างถูกและมักจะชอบแถมมากับคอมพิวเตอร์ที่สั่ง ประกอบสำเร็จจากร้านค้า
แต่ ก็ไม่ใช่ว่าจะหาไม่ได้เลยเสียทีเดียว เพราะว่าถ้าเป็นซาวด์การ์ดที่มีมาตรฐานหน่อยราคาก็มักจะสูงขึ้นตาม แต่ก็ทำให้เรามั่นใจได้ว่า มันจะสามารถให้เสียงเครื่องดนตรีที่ถูกต้องและครบถ้วนแน่นอน ตรงนี้เราต้องพิจารณากันให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจ
บริษัท ที่ผลิตเครื่องดนตรียักษ์ใหญ่อย่าง ROLAND CORPERATION ที่นอกจากจะมีชื่อเสียงทางด้านคุณภาพที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับ เครื่องดนตรีแล้ว ก็ยังได้เข้ามามีส่วนร่วมกับวงการคอมพิวเตอร์ด้วย โดยการผลิตซาวด์การ์ดคุณภาพสูงภายใต้มาตรฐาน GS เพื่อมาใช้ กับคอมพิวเตอร์ดนตรีโดยตรง มีทั้งแบบที่เป็นเหมือนซาวด์การ์ดทั่วไปที่ต้องเสียบเข้ากับสล้อตว่างๆของ คอมพิวเตอร์ , แบบที่เรียกว่า Daughterboard ที่ต้องเสียบไปบนซาวด์การ์ดตัวเดิม และแบบติดตั้งภายนอกหรือที่เรียกกันว่า"ซาวด์โมดูล"นั่นเอง
 ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%B4