วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ Recorder

การฝึกปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ Recorder

การฝึกปฏิบัติ
เครื่องดนตรีสากล(ขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ : Recorder)
การบรรเลงเครื่องดนตรี เป็นกิจกรรมแสดงออกทางดนตรี แสดงถึงความรู้ด้านดนตรี ความซาบซึ้ง ความมีสุนทรียภาพ สามารถถ่ายทอดความรู้สึกด้วยการบรรเลงเพลงจากเครื่องดนตรี การฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีต้องอาศัยทักษะด้วยความตั้งใจ มีสมาธิ และฝึกบ่อยครั้งจนให้เกิดความชำนาญ
สาระการเรียนรู้
การฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล (ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ : Recorder)
กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
ฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล (ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ : Recorder)
การฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล (ขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ : Recorder)

การฝึกขลุยรีคอร์เดอร์ (Recorder)
การจับขลุ่ยรีคอร์ดอร์
1. จับขลุ่ย โดยให้มือซ้าย (Left Hand) อยู่ด้านบนของขลุ่ยด้านปากเป่า โดยนิ้วชี้ นิ้วกลางนิ้วนาง แทนด้วยเลข 1 2 และ 3 ตามลำดับ นิ่วหัวแม่มือปิดที่รูเสียงด้านหลัง
2. มือขวา (Right Hand) จะใช้ 4 นิ้ว วางข้างล่างมือซ้าย คือ นิ้วชี้มือขวาเลข 1 นิ้วกลางมือขวาเลข 2 นิ้วนางมือขวาเลข 3 นิ้วก้อยมือขวาเลข 4 โดยใช้นิ้วมือขวาจับประคองขลุ่ยไว้
3. การเป่า ควรฝึกการควบคุมลม ลมที่เป่าต้องสม่ำเสมอ เป่าออกเสียงให้ตำแหน่งลิ้นเหมือนพูดคำว่า ทู “too” ใช้ลมเป่าพอประมาณ ไม่เป่าด้วยลมที่แรงหรือลมที่เบาเกินไป
   
ผังการวางตำแหน่งนิ้ว Recorder

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
1. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-4 คน เลือกบทเพลงสั้นๆ ที่สนใจจากหนังสือเรียน หรือจากบทเพลงที่สืบค้นจากแหล่งความรู้อื่นๆ ฝึกซ้อมร่วมกันจนเกิดความชำนาญ แล้วนำมาแสดงหน้าชั้นเรียนโดยครูให้คำแนะนำ
2. นักเรียนเลือกบทเพลงจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เช่น จากการสืบค้นในเว็บไซต์ต่างๆ ของขลุ่ยรีคอร์เดอร์จากห้องสมุด หรือจากผู้รู้ภูมิปัญญาในท้องถิ่น ฝึกเล่นจนเกิดความชำนาญ และนำมาแสดงหน้าชั้นเรียนโดยให้เพื่อนและครูวิจารณ์ แนะนำการบรรเลงเพื่อนำไปปรับปรุง

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้
1. ถ้านักเรียนเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ด้วยลมที่แรงเกินไป เสียงที่ได้จะเป็นอย่างไร
2. ในการปฏิบัติเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ต้องฝึกอะไร อย่างไร อธิบาย

การดูแลรักษาขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์

การดูแลรักษาเครื่องดนตรีสากล
การรู้จักดูแลรักษาเครื่องดนตรีหลังจากการใช้งานอย่างถูก วิธี เครื่องดนตรีจะต้องมีความสะอาดมีสภาพพร้อมที่จะใช้งานตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยให้มีคุณภาพเสียงและมีอายุการใช้งานของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดนาน ขึ้น
สาระการเรียนรู้
                การดูแลรักษาขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ (Recorder)
กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
                บอวิธีใช้และบำรุงรักษาขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ (Recorder) อย่างถูกวิธี
  
การดูแลรักษาขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ (Recorder)
ส่วนประกอบของขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์
การดูแลรักษาขลุ่ยรีคอร์เดอร์ (Recorder)
ประโยชน์ในการดูแลรักษาทำความสะอาดเครื่องดนตรี
เพื่อยืดอายุการใช้งานเครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีสะอาดไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้เล่น
หลังจากการเล่นหรือใช้งานผู้เล่นควรปฏิบัติดังนี้
1. นำขลุ่ยซึ่งส่วนมากทำด้วยพลาสติกไฟเบอร์กลาสล้างด้วยน้ำอุ่นโดยผสมน้ำสบู่อ่อนๆ หรือล้างด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งหลังการใช้งาน
2. การต่อประกอบหรือดึงข้อต่อขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ควรถอดข้อต่อด้วยการค่อยๆ หมุนออกตามเข็มนาฬิกา ท่อนส่วนหัว (Head Joint)ที่ล้างสะอาดแล้วเช็ดด้วยผ้านุ่มที่สะอาดให้แห้ง ห้ามใช้การสะบัดให้แห้งเพราะขลุ่ยรีคอร์เดอร์อาจแยกหลุดออกจากกัน หล่นแตกได้ง่าย
3. การทำความสะอาดเช็ดด้วยผ้าที่นุ่มที่ส่วนกลาง(Middle Joint) และส่วนท้าย (Foot Joint) ด้วยวิธีการถอดข้อต่อออกจากกัน อาจจะใช้ไม้หรือแท่งพลาสติกทำความสะอาดสอดผ้าเช็ดข้างในตัวขลุ่ยใหัสะอาด
4. เมื่อเห็นว่าแห้งดีแล้วควรทาวาสลินที่บริเวณข้อต่อต่างๆเพื่อให้ข้อต่อง่ายต่อการประกอบเข้าด้วยกัน และไม่แน่นเกินไปเมื่อถอดทำความสะอาด
5. ควรเก็บใส่ซองหรือกล่องที่มากับตัวเครื่องให้เป็นระเบียบโดยวางไว้บริเวณที่ไม่ตกหล่น

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
๑.      นักเรียนศึกษาหรือสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เกี่ยวกับการดูแลรักษาขลุ่ยที่ไม่ได้ทำด้วยไฟเบอร์กลาสเชน ขลุ่ยไทย ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกันแต่ทำด้ายไม้ ว่ามีการดูแลรักษาอย่างไร เมื่อได้ข้อมูลให้นำเสนอครูและเพื่อนร่วมชั้น
๒.    นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน เขียนผลเสียที่เกิดกับเครื่องดนตรีที่ไม่ทำความสะอาดขาดการดูแลลงในกระดาษให้ได้มากที่สุด ตัวแทนกลุ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียน
คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้
ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
๑.      นักเรียนคิดว่าถ้าใช้เครื่องดนตรีแล้วไม่ดูแลรักษาความสะอาดจะเกิดความเสียหายกับเครื่องดนตรีนั้นๆอย่างไร
๒.    ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ที่ทำด้วยไฟเบอร์กลาสทำความสะอาดด้วยวิธีใด

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ระบบ มิดิ

มิดิ


ชื่อโน้ตและหมายเลขโน้ตมิดิ
มิดิ หรือ มาตรฐานการประสานเครื่องดนตรีแบบดิจิทัล [1] (อังกฤษ: Music Instrument Digital Interface: MIDI) เป็นโพรโทคอลมาตรฐานที่คิดค้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2525[2] โดยเป็นระบบการติดต่อสื่อสารทางดนตรี ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทางดนตรี เช่น คอมพิวเตอร์ ซินธิไซเซอร์ ซีเควนเชอร์ ซาวด์โมดูล แซมเพลอร์ ซึ่งใช้สัญญาณไฟฟ้าแบบดิจิตอล ในการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ โดยจะมีความหมายเป็นโน้ตดนตรี และค่าการควบคุมลักษณะเสียงต่างๆ
ไฟล์ MIDI ไม่ได้มีการเก็บเสียงดนตรีใดๆไว้เหมือนอย่างเทปเพลงหรือซีดีเพลง ข้อมูลทั้งหมดจะอยู่ในรูปของคำสั่งที่จะไปสั่งเครื่อง ดนตรีว่า ให้เปล่งเสียงโน้ตตัวใด(Note ON), ด้วยระดับความดังแค่ใหน(Velocity) และคำสั่งอื่นๆ ตามคุณสมบัติเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด ด้วยเหตุที่เป็นไฟล์คำสั่งนี่เองทำให้มันมีขนาดที่เล็กมากๆ แผ่นดิสก์ 3.5 นิ้วเพียงแผ่นเดียวก็สามารถเก็บไฟล์ MIDI ได้หลายสิบเพลง และจากความที่มันเป็นไฟล์คำสั่งแบบดิจิตอลนี่เอง นักคอมพิวเตอร์จึงสามารถนำข้อมูลดิจิตอลนี้มาพัฒนาด้วย จนในที่สุดทั้งคอมพิวเตอร์และเครื่องดนตรีก็สื่อสารกันได้อย่างสมบูรณ์โดย ผ่านระบบ MIDI นี่เอง

General MIDI[แก้]

ในปี พ.ศ. 2526 เมื่อมาตรฐานการเชื่อมต่อ MIDI ออกมาใหม่ๆ ได้สร้างความเป็นไปได้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์สร้างเสียงดนตรี อุปกรณ์ควาบคุม และอุปกรณ์บันทึกที่หลากหลายเข้าด้วยกัน, ทำให้เกิดการแข่งขันขึ้นระหว่างผู้ผลิตเครื่องดนตรีหลายๆ เจ้า เพื่อใช้ประโยชน์จากมาตรฐานนี้, แต่เนื่องจากมาตรฐาน MIDI เป็นมาตรฐานการส่งคำสั่งควบคุมทางไฟฟ้าเท่านั้น ไม่ได้มีการกำหนดไว้ตายตัวว่าการใช้งานคำสั่งย่อยต่างๆ จะต้องตีความอย่างไร หรือหมายเลขเครื่องดนตรีที่อยู่ในคำสั่งนั้น หมายถึงเสียงเครื่องดนตรีใด, ทำให้ผู้ผลิตแต่ละบริษัทใช้รูปแบบการตั้งค่าคำสั่งที่แตกต่างกันมาก หากนำมาใช้ร่วมกันจะทำให้เสียงผิดเพี้ยน, ทำให้เมื่อนักดนตรีเลือกใช้เครื่องดนตรี หรืออุปกรณ์ควบคุมยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งแล้ว จะไม่สามารถนำเครื่องดนตรีและอุปกรณ์ควบคุมยี่ห้ออื่นๆ มาใช้งานร่วมกันผ่านระบบ MIDI ได้, จนสร้างความอึดอัดใจให้กับนักดนตรีทั่วๆ ไป เป็นอย่างมาก
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2534 ได้มีการประกาศมาตรฐานเกี่ยวกับการใช้ชุดคำสั่ง MIDI ออกมาเป็นครั้งแรก โดยมีชื่อเรียกว่า The General MIDI System Level 1 หรือเรียกกันทั่วไปว่า General MIDI (GM) อันเกิดจากความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้ผลิตในญี่ปุ่นที่เรียกตัวเองว่า Japanese MIDI Standards Committee (JMSC) กับกลุ่มผู้ผลิตทางอเมริกาที่ชื่อว่า American MIDI Manufacturers Association (MMA)
มาตรฐาน GM ประกอบด้วยสาระสำคัญเรื่องการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของการรองรับคำสั่ง MIDI (เช่น ต้องรองรับการปรับความดังตัวโน้ต และต้องเล่นได้อย่างน้อย 24 โน้ตพร้อมกัน) รวมทั้งกำหนดเสียงเครื่องดนตรีที่ใช้ใน MIDI ทั้งหมด 128 ชนิด ซึ่งจะรวมเสียงของเครื่องดนตรีจริงๆ และเสียงเอฟเฟคต์ต่างๆ เช่นเสียงปรบมือ เสียงฝนตก ฯลฯ เอาไว้ด้วย โดยหมายเลขของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดจะเรียกว่า Patch และมีการแบ่ง Patch ออกเป็นกลุ่มๆ ดังต่อไปนี้:
  1. Piano
  2. Chromatic Percussion
  3. Organ
  4. Guitar
  5. Bass
  6. Strings
  7. Ensemble
  8. Brass
  9. Rreed
  10. Pipe
  11. Synth Lead
  12. Synth Pad
  13. Synth Effects
  14. Ethnic
  15. Percussive
  16. Sound Effects
ในแต่ละกลุ่มยังแบ่งย่อยๆ ไปอีกกลุ่มละ 8 ชนิด เช่น ในกลุ่มของเปียโน ก็จะมีเสียงของเปียโนชนิดต่างๆ อีก 8 ชนิด หรือในกลุ่มของ Brass ก็ประกอบด้วย ทรัมเป็ต, ทรอมโบน และเครื่องเป่าอื่นๆ อีกรวม 8 ชนิด เป็นต้น
เมื่อมาตรฐาน GM ออกมา ก็ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย จนในที่สุดเครื่องดนตรีและอุปกรณ์ควบคุมต่างๆ จากบริษัทผู้ผลิตทั่วโลกก็สามารถนำมาผสมผสานและเล่นร่วมกันได้ในระบบ MIDI โดยอาศัยมาตรฐานนี้, และนอกจากการใช้งานกับเครื่องดนตรีแล้ว มาตรฐานนี้ก็ถูกนำมาใช้ในวงการคอมพิวเตอร์ด้วย เช่นการ์ดเสียงคอมพิวเตอร์ที่ระบุว่ารองรับมาตรฐาน GM ก็จะสามารถเล่นเพลงที่บันทึกมาจากเครื่องดนตรี หรือแต่งเพลงแล้วนำไปเล่นกับเครื่องดนตรีในมาตรฐาน GM ได้ โดยไม่มีปัญหาเรื่องเสียงของเครื่องดนตรีไม่ตรงกัน

GS[แก้]

มาตรฐาน GM ถูกใช้งานกันมานานด้วยความเรียบร้อยดี อยู่ต่อมาเมื่อบทเพลงต่างๆเริ่มต้องการเสียงที่วิจิตรพิสดารมากขึ้น บริษัทผู้ผลิตเครื่องดนตรีชั้นนำของโลกบริษัทหนึ่งที่ชื่อว่า ROLAND CORPERATION เริ่มรู้สึกว่าเสียงของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ ในมาตรฐานเดิมนั้นไม่พอใช้เสียแล้ว จึงได้ทำการเพิ่มเติมเสียงของเครื่องดนตรีบางชนิดเข้าไปกับมาตรฐาน GM อีก โดยใช้ชื่อมาตรฐาน อันใหม่นี้ว่า มาตรฐาน GS ซึ่งยังคงมีกลุ่มเสียงทั้งหมด 16 กลุ่มเท่าเดิม แต่ในแต่ละกลุ่มจะมีเสียงเพิ่มเข้ามาอีก จากเดิม 128 เสียง เพิ่มมาเป็น 189 เสียง
จาก ความแตกต่างของ GM และ GS นี่เองทำให้เกิดปัญหาเล็กๆตามมา นั่นก็คือหากใครมีเพลงรุ่นใหม่ๆที่สร้างขึ้นภายใต้มาตรฐาน GS แล้ว เมื่อนำไปเล่นกับเครื่องดนตรีหรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้มาตรฐาน GM อยู่อาจจะให้เสียงไม่ครบหรือไม่ถูกต้องตาม ต้นฉบับก็ได้ แต่ถ้าหากเพลงนั้นถูกสร้างขึ้นภายใต้มาตรฐาน GM เมื่อนำไปเล่นบนเครื่องที่เป็นมาตรฐาน GS ก็ยังคงให้เสียงได้ครบถ้วนอยู่เหมือนเดิม เพราะว่าในมาตรฐาน GS ยังคงมีเสียงจากมาตรฐาน GM อยู่ครบนั่นเอง
หัน มาดูทางด้านคอมพิวเตอร์ของเรากันบ้าง ดูเหมือนว่าบริษัทผู้ผลิตซาวด์การ์ดที่ใช้กับคอมพิวเตอร์จะไม่ค่อยได้ติดตาม ข่าวคราว ในวงการดนตรีสักเท่าไรนัก หรืออาจเป็นเพราะว่าไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจเอาไว้ก่อนว่าจะมีใครเอา ซาวด์การ์ดมาใช้เล่นเพลง เล่นดนตรีกันทั่วบ้านทั่วเมืองแบบนี้ก็ได้ เลยเป็นผลทำให้ซาวด์การ์ดจำนวนมากยังคงใช้ชิพกำเนิดเสียงเครื่องดนตรีตาม มาตรฐาน GM กันอยู่ สังเกตได้จากราคาที่ค่อนข้างถูกและมักจะชอบแถมมากับคอมพิวเตอร์ที่สั่ง ประกอบสำเร็จจากร้านค้า
แต่ ก็ไม่ใช่ว่าจะหาไม่ได้เลยเสียทีเดียว เพราะว่าถ้าเป็นซาวด์การ์ดที่มีมาตรฐานหน่อยราคาก็มักจะสูงขึ้นตาม แต่ก็ทำให้เรามั่นใจได้ว่า มันจะสามารถให้เสียงเครื่องดนตรีที่ถูกต้องและครบถ้วนแน่นอน ตรงนี้เราต้องพิจารณากันให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจ
บริษัท ที่ผลิตเครื่องดนตรียักษ์ใหญ่อย่าง ROLAND CORPERATION ที่นอกจากจะมีชื่อเสียงทางด้านคุณภาพที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับ เครื่องดนตรีแล้ว ก็ยังได้เข้ามามีส่วนร่วมกับวงการคอมพิวเตอร์ด้วย โดยการผลิตซาวด์การ์ดคุณภาพสูงภายใต้มาตรฐาน GS เพื่อมาใช้ กับคอมพิวเตอร์ดนตรีโดยตรง มีทั้งแบบที่เป็นเหมือนซาวด์การ์ดทั่วไปที่ต้องเสียบเข้ากับสล้อตว่างๆของ คอมพิวเตอร์ , แบบที่เรียกว่า Daughterboard ที่ต้องเสียบไปบนซาวด์การ์ดตัวเดิม และแบบติดตั้งภายนอกหรือที่เรียกกันว่า"ซาวด์โมดูล"นั่นเอง
 ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%B4

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วิธีการ เล่นคีย์บอร์ด


8 วิธีการ:ประวัติของคีย์บอร์ดทำความเข้าใจกับแป้นคีย์บอร์ดเรียนวิธีเล่นคีย์บอร์ดอย่างไรเรียนจากการอ่านเพลงเรียนจากการฟังคีย์บอร์ดวางบนขาตั้งตัดสินใจเลือกพร้อมรับมากกว่านี้ไหม?
ช่างน่าประทับใจทุกทีที่ได้เห็นนักเปียโนมากความสามารถบรรเลงเพลงราวกับนิ้วโบยบินอยู่เหนือแป้นคีย์ด้วยสีหน้าจดจ่อ บทความนี้อาจไม่ได้สอนให้คุณเล่นมันได้ราวมืออาชีพ แต่จะให้แนวคิดกับคุณเพื่อนำไปสู่การเริ่มต้นเล่นคีย์บอร์ด


วิธีการ 1 จาก 8: ประวัติของคีย์บอร์ด

ทำความรู้จักกับเครื่องดนตรีของคุณ. ไม่ว่าคุณอยากจะเป็นนักเปียโนออกคอนเสิร์ตหรือแค่มือคีย์บอร์ดในวงร็อค คุณก็ต้องเริ่มจากพื้นฐานเดียวกัน




รู้จักคำศัพท์. เครื่องดนตรีมีชื่อเรียกหลายอย่างและมีหลากหลายชนิดซึ่งต่างก็มีสิ่งหนึ่งที่ใช้ร่วมกัน ลองมาดูประวัติของคีย์บอร์ดแบบฉบับย่อกัน
ฮาร์ปซิคอร์ด (Harpsichord) นี่เป็นคีย์บอร์ดรุ่นแรกสุดรุ่นหนึ่ง เล่นให้เกิดเสียงได้ด้วยการเกาสายแบบเดียวกับที่นักกีตาร์ทำ เว้นเสียแต่ว่าตัวปิ๊กนั้นติดอยู่กับคีย์ ไม่ว่าคุณจะเล่นหนักหรือเบานั้นไม่สำคัญ เสียงที่ได้จะไม่มีความดังเบาแตกต่างกันและจะดังเท่ากันตลอด
เปียโน (Piano) กระบวนการทำให้เกิดเสียงที่ประณีตโดยใช้ค้อนที่มีน้ำหนักแทนตัวปิ๊ก แป้นคีย์จะเป็นตัวควบคุมค้อน และนักเปียโนสามารถควบคุมความดังเบาของเสียงได้ตั้งแต่เบามากไปจนถึงดังมาก
เปียโนไฟฟ้า (Electric Piano) ในขณะที่เสียงเปียโนฟังดูหรูหราและไพเราะ แต่ก็เคลื่อนย้ายไม่สะดวก เมื่อนักดนตรีเริ่มทยอยใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้าในยุคทศวรรษที่ 50 พวกเขาก็เริ่มอยากได้เครื่องดนตรีที่ย้ายไปไหนมาไหนได้เหมือนอย่างกลองชุด จึงเกิดเปียโนไฟฟ้า (และออร์แกน) ขึ้น
เครื่องสังเคราะห์เสียง (Synthesizer) หลังมีฮาร์ปซิคอร์ดและเปียโนมากว่า 300 ปี นักดนตรีเริ่มจะคุ้นเคยและถนัดกับรูปร่างของคีย์บอร์ด เมื่อมีเครื่องสังเคราะห์เสียงไฟฟ้า จึงไม่แปลกที่ยังใช้คีย์บอร์ดรูปร่างแบบเดิม แต่เปลี่ยนคำศัพท์เรียกนิดหน่อย ในยุคนั้นคนมักเรียกคนที่เล่นคีย์บอร์ดว่า “นักเปียโน” หรือ “นักออร์แกน” อย่างไรก็ตาม สำหรับเครื่องดนตรีที่มีแป้นคีย์เหมือนเปียโน แต่ทำให้เกิดเสียงได้เหมือนกับวงซิมโฟนีออร์เคสตร้าไปจนถึงเสียงร้องของแมวเหมียว คำว่า “นักเปียโน” จึงไม่เหมาะกับบริบทอีกต่อไป จึงเกิดคำว่า นักคีย์บอร์ด ขึ้น


ทีนี้คุณก็รู้จักเครื่องดนตรีนี้แล้ว. ได้เวลาฝึกซ้อมล่ะ


วิธีการ 2 จาก 8: ทำความเข้าใจกับแป้นคีย์บอร์ด


ดูที่แป้นคีย์. ไม่ว่าคุณจะเล่นเครื่องสังเคราะห์เสียงบนไอแพด หรือคีย์บอร์ดดิจิตอลวางบนขาตั้ง หรือแกรนด์เปียโนระดับขึ้นคอนเสิร์ต เครื่องเหล่านี้ล้วนมีแป้นคีย์บอร์ดแบบเดียวกัน และอาจแตกต่างไปบ้างที่จำนวนคีย์บนแป้น [[Im

สังเกตว่าคีย์มีอยู่ 2 ชนิด. คีย์ดำกับคีย์ขาว นี่อาจทำให้สับสนในตอนแรกแต่มีอยู่สองสามวิธีที่จะทำให้คุณจำง่ายขึ้น
มีคีย์พื้นฐานอยู่ 12 คีย์ ในแต่ละเซ็ตของ 12 คีย์จะมีลักษณะเดียวกับ 12 คีย์ของเซ็ตอื่น ต่างตรงที่อยู่ในช่วงเสียงสูงหรือเสียงต่ำ
คีย์ขาวทุกตัวอยู่ในบันไดเสียง C เมเจอร์
คีย์ดำทุกตัวมีชื่อเรียกอย่างใดอย่างหนึ่งว่า “ชาร์ป” (#) หรือ “แฟลต” (b)




ดูที่แป้นคีย์บอร์ดอีกครั้ง. หารูปแบบโดยเริ่มจากตัว C ที่อยู่ทางซ้ายของรูป มีคีย์ดำเยื้องมาทางขวา โน้ตตัวถัดไปตัว D มีคีย์ดำกั้นอยู่ทั้งสองข้าง และโน้ต E ที่อยู่ถัดมามีคีย์สีดำเยื้องมาทางซ้าย
สังเกตรูปแบบของคีย์ขาวสองตัวและคีย์ดำสองตัวซึ่งมีคีย์ขาวตัวหนึ่งอยู่ตรงกลาง
หากลุ่มต่อไปซึ่งมีลักษณะการจัดกลุ่มเหมือนๆ กัน โดยมีแค่คีย์ดำสามตัวและคีย์ขาวสองตัวอยู่ตรงกลางระหว่างโน้ต F กับ B

หาตัว C ที่อยู่ถัดมาทางขวาของแป้นคีย์. คุณจะเห็นรูปแบบเดียวกับอันก่อนหน้านี้ ซึ่งจะซ้ำกันในทุกๆ ช่วงคู่แปด (octave) ของแป้นคีย์ นั่นหมายถึง ช่วงเสียงของโน้ตตัวเดียวกันที่ห่างกันเป็นระยะ 8 ตัวโน้ต

หาตัว C ที่อยู่ใกล้กับจุดกึ่งกลางของแป้นคีย์. นี่คือตัว C หรือ โดกลาง หรือ C3 ตัว C ที่อยู่ถัดมาทางขวาคือ C4, C5, C6, เป็นต้น และตัว C หรือโดที่อยู่ต่ำลงมาเรียกว่า C2, C1, C0.

เล่นเพลง. ใช่แล้ว ถูกต้อง ง่ายแค่นี้แหละ! เริ่มจากโดกลางหรือ C3 จินตนาการว่าตัวคุณกำลังเดินปกติ และในทุกก้าวที่คุณกำลังนึกอยู่ให้เล่นคีย์ขาวตัวถัดมาทางขวามือจนกระทั่งคุณเล่นถึงตัวโดสูง หรือC4 จากนั้นหยุดเล่น โอเค นี่ไม่ค่อยเหมือนเป็นเพลงเท่าไหร่ แต่พื้นฐานทั้งหมดเริ่มต้นที่จุดนี้ เล่นโน้ตเฉพาะตัวตามลำดับเฉพาะและในช่วงเวลาที่กำหนด นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเวลาคุณเล่นเพลงจากโน้ตเพลง
เล่นซ้ำอีกครั้ง เหมือนกับรอบที่แล้ว ให้จินตนาการว่าคุณกำลังเดิน และในทุกๆ ก้าวให้คุณเล่นโน้ตตัวที่สูงขึ้น คราวนี้มองมาที่โน้ตแต่ละตัว อ่านจากซ้ายไปขวาก่อนที่คุณจะเริ่มเล่นบนคีย์บอร์ด ทีนี้คุณไม่ใช่แค่เล่นเพลงแต่คุณกำลังอ่านเพลงอยู่!


วิธีการ 3 จาก 8: เรียนวิธีเล่นคีย์บอร์ดอย่างไร


เล่นคีย์บอร์ดในแบบของคุณ. มีวิธีเบสิคอยู่สองสามวิธีที่จะเรียนรู้วิธีเล่นคีย์บอร์ดหรือเปียโน.
เรียนจากการอ่านโน้ต คุณสามารถสอนให้ตัวเองรู้จักทักษะอันล้ำค่านี้ได้ คุณอาจไปเรียน หรืออาจทำทั้งสองวิธี นี่เป็นทักษะที่ดีอันหนึ่งที่จะเรียนและเป็นสิ่งที่คุณจะนำติดตัวไปใช้ในการเรียนร้องเพลง เล่นบาสซูน เล่นกีตาร์ หรือเป่าแซกโซโฟน
เรียนรู้จากการฟัง บางครั้งวิธีนี้ก็ง่ายกว่า คุณแค่ฟังเพลงจากนั้นนึกว่าคีย์ไหนบนแป้นที่ทำให้เกิดเสียงโน้ตแบบเดียวกัน มันอาจจะยากในตอนแรก แต่ถ้าคุณฝึกทักษะการฟังสักหน่อยวิธีนี้ก็จะเริ่มง่ายขึ้น อีกอย่าง คุณไม่ต้องสนใจว่าจุดดำบนโน้ตเพลงพวกนั้นมีความหมายอะไร


วิธีการ 4 จาก 8: เรียนจากการอ่านเพลง

หาโน้ตเพลงมา. ไปที่ร้านเพลงใกล้บ้านคุณ จากนั้นบอกพวกเขาว่าคุณกำลังเรียนวิธีเล่นคีย์บอร์ด คุณอยากเล่นเพลงสไตล์ไหน และถามว่าพวกเขาแนะนำหนังสือสำหรับมือใหม่ดีๆ สักเล่มได้ไหม พวกเขาจะแนะนำวิธีที่เหมาะกับสไตล์การเรียนรู้ของคุณ
พวกเขาอาจแนะนำครูสอนเปียโนให้ด้วย ถ้าคุณอยากจะเป็นนักเล่นเปียโนมีฝีมือ ลองพิจารณาคำแนะนำพวกเขาดู
ในการวางมือของคุณครั้งแรก อย่าลืมว่าโน้ตเพลงบางเพลงมีตัวเลขไว้คอยชี้แนะทางให้ ตัวเลขเหล่านี้แทนนิ้วของคุณที่วางบนคีย์ไว้สำหรับเล่นโน้ตในบทเพลง ได้แก่: 1=นิ้วโป้ง, 2=นิ้วชี้, 3=นิ้วกลาง, 4=นิ้วนาง, and 5=นิ้วก้อย


วิธีการ 5 จาก 8: เรียนจากการฟัง

ฝึกหูของคุณ. ไม่มีวิธีการเรียนแบบไหนที่ได้ผลเร็วทันที การเรียนจากการฟังก็เช่นกัน การจดจำเสียงของเพลงและหาตัวโน้ตบนแป้นคีย์บอร์ดที่กดแล้วได้เสียงเดียวกันนั้นเป็นทักษะที่ต้องฝึกมาประมาณหนึ่งเพื่อพัฒนาการฟัง ข่าวดีก็คือ เหล่านักด้นสดเก่งๆ ทั่วโลกต่างรู้วิธีที่จะทำแบบนี้ ดังนั้น นี่เป็นทักษะที่ไม่สูญเปล่า วิธีที่คุณจะเริ่มต้นมีดังต่อไปนี้

รู้จักกับศิลปะของ solfège. มันออกเสียงว่า “ซอล-เฟซ” และแปลว่า การร้องจากการดู คุณพอมีพื้นมาแล้ว ถ้าคุณรู้วิธีร้อง “โด เร มี” โน้ตบันไดเสียงของซอลเฟซพื้นฐานไล่จาก โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด ในกุญแจ C (คีย์ขาว) นี่หมายถึงตัว C, D, E, F, G, A, B, C.

ลองเล่นดู. เล่นบันไดเสียง C ที่พูดถึงก่อนหน้านี้บนแป้นคีย์บอร์ดของคุณ ในแต่ละโน้ตที่คุณเล่น ร้องโน้ตตัวถัดไปตามบันไดเสียงของซอลเฟซ อย่ากังวลถ้าเสียงร้องของคุณไม่ทำให้คุณได้ไปประกวดเดอะวอยซ์ หลักสำคัญคือ เชื่อมเสียงเข้ากับตัวโน้ต ว่าแต่โน้ตบนคีย์ดำล่ะ?
นี่คือบันไดเสียง ประกอบด้วยโน๊ตตัวดำในวงเล็บ: โด-(ดี)-เร-(รี)-มี-ฟา-(ฟี)-ซอล-(ซี)-ลา-(ลี)-ที-โด ลองเล่นที่คีย์บอร์ดของคุณ แล้วฟังว่าเสียงออกมาแบบไหน คุณจะสัมผัสได้ว่า โด-เร-มี เริ่มฟังคุ้นหู

ฝึกคู่เสียง (intervals). แทนที่จะร้องแค่ “โด เร มี” ลองร้องสลับกันอย่าง “โด-มี-เร-ฟา-มี-ซอล-โด” คิดโน้ตผสมของคุณเอง เขียนโน้ตนั้นใส่กระดาษแล้วร้องออกมา จากนั้นลงมือเล่นบนแป้นคีย์บอร์ดและดูว่าคุณเริ่มเล่นได้ใกล้เคียงมากขึ้นไหม

ลองเริ่มเล่นเพลงง่ายๆ เมื่อคุณเริ่มรู้สึกเล่นคล่องขึ้น. อาจเล่นเพลงที่คุณรู้จักดีอยู่แล้ว หรือเพลงเด็กที่คุ้นหูมากๆ เพียงแต่ครั้งนี้แทนที่จะร้อง เช่น “หนูมาลีมีลูกแมวเหมียว” ให้ร้อง “มี-เร-โด-เร-มี-มี-มี(ลากเสียงยาว)” แทน
เมื่อคุณฝึกฝนความสามารถที่จะทำแบบนี้ได้ คุณจะเรียนคำร้องซอลเฟซเพลงไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้ และกลับมาลองเล่นที่คีย์บอร์ดดู
ยิ่งคุุณทำแบบนี้มากเท่าไหร่ คุณก็จะเริ่มเล่นดีขึ้นมากเท่านั้น


วิธีการ 6 จาก 8: คีย์บอร์ดวางบนขาตั้ง

นึกถึงคีย์บอร์ดว่ามี “สมอง” อยู่สามแบบ. ในแต่ละสมองมีความทรงจำอยู่หนึ่งประเภท

สมองประเภทแรกเรียก สมองเสียง หรือที่รู้จักกันว่า โทน (Tone). นี่คือเสียงอย่างเปียโน เครื่องสาย ฟลุต หรือเสียงใหม่และเสียงแปลกๆ ที่คุณสร้างขึ้นมาเอง

ประเภทต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อ “สมองจังหวะ”. ส่วนนี้อาจเรียกว่า “จังหวะ” ในบางคีย์บอร์ด หรือ “สไตล์” ในที่อื่น คีย์บอร์ดอาจมีเสียงกลองชุด กีตาร์เบส เปียโน และเสียงประสานที่ใช้แพทเทิร์นที่ตั้งมากับเครื่องแต่แรก นี่เหมือนกับเป็นวงแบคอัพที่คุณใช้มือซ้ายควบคุมได้ และเล่นเมโลดี้ที่มือขวา

สมองประเภทที่สามคือ ที่ซึ่งผลงานการสร้างสรรค์ทางดนตรีของคุณทั้งหมดถูกบันทึกไว้. ตัวอย่าง ถ้าคุณเล่นมือซ้ายเป็นกีตาร์เบส คุณสามารถบันทึกไว้ แล้วค่อยเล่นเพลงคลอไปพร้อมกับมัน คุณสามารถเล่นทำนองเพลงสดใหม่สุดด้วยเปียโนหรือเครื่องสังเคราะห์เสียง เพื่อให้เข้ากับสิ่งที่คุณเคยบันทึกเอาไว้ก็ได้


วิธีการ 7 จาก 8: ตัดสินใจเลือก

ตัดสินใจระหว่างคีย์บอร์ดกับเปียโนทั่วไป. พิจารณาองค์ประกอบต่อไปนี้

เปียโนมีทั้งหมด 88 คีย์. เครื่องใหญ่หนักและเสียงดัง และคุณไม่สามารถเสียบหูฟังเข้ากับเปียโนและลงมือซ้อมตอนตีสองได้!

เพลงคลาสสิคฟังไพเราะยิ่งขึ้นเวลาเล่นบนเปียโนมากกว่าบนคีย์บอร์ด. เปียโนดิจิตอลเปรียบได้กับเปียโนไม้แต่จำไว้ว่า เปียโนดิจิตอลที่มีเปียโนจริงเป็นต้นแบบอาจมีคุณภาพเสียงด้อยกว่าเล็กน้อย

คีย์บอร์ดดิจิตอลเล่นง่ายกว่า. ครั้งต่อไปที่คุณนั่งอยู่ใกล้เปียโน กดโน้ตต่ำสุดที่อยู่ทางซ้ายมือ จากนั้นกดโน้ตสูงสุดที่อยู่ทางขวามือ รู้สึกถึงความแตกต่างหรือไม่ น้ำหนักแป้นคีย์จะหนักกว่าที่ฝั่งซ้ายสุด และเบากว่าเล่นง่ายกว่าที่ฝั่งขวาสุด
ทีนี้ลองทำแบบเดียวกันกับคีย์บอร์ดเกือบทั้งหมด คีย์บนเครื่องสังเคราะห์เสียงหรือแบบมีขาตั้งจะให้ความรู้สึกเหมือนกันหมด เว้นเสียแต่เครื่องนั้นทำเพื่อเลียนแบบแป้นคีย์เปียโน “การกด” ที่แป้นคีย์บอร์ดจะเบาและเร็วกว่า ง่ายสำหรับการเล่นติดต่อกันหลายชั่วโมง
นักเล่นคีย์บอร์ดหลายคนไม่จำเป็นต้องใช้โน้ตทุกตัวบนแป้นคีย์เปียโน โน้ตที่คุณเล่นสามารถเลื่อนขึ้นและลงบนคีย์บอร์ดได้ด้วยปุ่มควบคุม ตัวอย่าง โน้ตที่คุณเล่นอยู่ที่ตัวโดกลาง หรือ C3 สามารถกลายเป็นโดสูงขึ้นอย่าง C4 หรือต่ำลงอย่าง C1 หรือคู่เสียงไหนก็ตามที่คุณเลือกจากปุ่มกด

คีย์บอร์ดดิจิตอลเป็นเครื่องดนตรีที่มีฟังก์ชั่นใช้งานหลากหลายมาก. มันเหมาะนำไปใช้งานมากยิ่งขึ้นถ้าคุณเล่นกับวงดนตรี นักกีตาร์ให้จังหวะมาซ้อมสายเหรอ นักคีย์บอร์ดสามารถเลือกทำเสียงกีตาร์ หรือเล่นแทนมือกีตาร์ให้จังหวะของวงด้วยการเล่นคอร์ดเสียงเปียโนประกอบได้

สุดท้าย ถึงแม้ว่าคีย์บอร์ดอาจไม่ได้เกิดเต็มตัวในวงการเพลงคลาสสิค. ทว่าในโลกของเพลงยอดนิยม (แจ๊ซ, ร็อค, เร็กเก้ ,ป๊อป, พังค์ และอื่นๆ) คนเริ่มใช้คีย์บอร์ดกันแพร่หลายขึ้น


วิธีการ 8 จาก 8: พร้อมรับมากกว่านี้ไหม?

เมื่อคุณได้เรียนรู้พื้นฐาน ลองทุ่มเทให้มากขึ้น. เล่นกับวงดนตรีสิ!

หาเพื่อนสองสามคนที่เล่นกลอง กีตาร์ และเบสเป็น. ลองหัดเล่นเพลงที่คุณทุกคนชอบ

ขัดเกลาเพลงที่คุณเล่นให้ได้ตามแบบที่คุณชอบ
เมื่อคุณทำสำเร็จ หัดเล่นเพลงอื่น อย่าหยุดจนกว่าจะได้บอดี้สแลมมาเป็นวงเปิดการแสดงของคุณ!

เคล็ดลับ
  • อย่าหงุดหงิด พยายามต่อไปและคุณจะทำสำเร็จ
  • ซ้อม ซ้อม ซ้อม
  • เชื่อมั่นในตัวเอง
  • ถ้าคุณเล่นพลาดก็แค่พยายามเล่นต่อ
  • ยอมรับคำวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ด้วยจิตใจสดใสเหมือนตอนที่ได้รับคำชม
  • ซ้อมกับจังหวะซึ่งมีอยู่ในเครื่องเล่นคีย์บอร์ดเพื่อพัฒนาการจับจังหวะและเล่นให้ตรงจังหวะ
  • อย่ากลัวความผิดพลาด แม้แต่คนที่เก่งที่สุดก็ยังมีเล่นถูกบ้างผิดบ้าง จำกฎข้อนี้ไว้: ถ้าคุณเล่นไม่มีผิด คุณกำลังพยายามไม่มากพอ
  • ฟังและเรียนรู้จากคนที่คุณรู้จัก
  • การเล่นเปียโนใช้หลักการพื้นฐานเดียวกับการเล่นคีย์บอร์ด
  • คุณสามารถเรียนวิธีเล่นคีย์บอร์ดด้วยตัวเองได้จากคู่มือการเล่น แต่คนมักนิยมไปเรียนกันมากกว่า คุณจะได้รับประโยชน์จากคนที่สามารถชี้แนะคุณได้ว่าตอนไหนที่คุณเล่นถูก และช่วยคุณเวลาที่คุณก้าวข้ามจุดที่ยากลำบากไปไม่ได้ 
 คำเตือน
อย่าคาดหวังที่จะเรียนรู้ชั่วข้ามคืน แม้แต่โมสาร์ตและบีโธเฟนก็ไม่ได้เรียนรู้ไวขนาดนั้น ดังนั้น จงฝึกซ้อม

สิ่งของที่ใช้
คีย์บอร์ด
โน้ตเพลง (ไม่จำเป็นสำหรับการเรียนวิธีเล่น)
ครูที่ดี
ความกระตือรือร้น
ความอดทนและการฝึกซ้อมมากๆ

ที่มาและการอ้างอิง
Download this free book which may help you learn the first rudiments of keyboard music: [1]
Try these Online Animated sound Classical Techno and Rock keyboards lessons at Ezmusic4u.com. They include alternate easy "alphabet letter notes" as well as standard notation and helpful finger diagrams.
ข้อมูลของบทความ
หมวดหมู่: ศิลปะและความบันเทิง
ที่มา :http://th.wikihow.com/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94
ในภาษาอื่น:
English: Play the Keyboard, Italiano: Suonare La Tastiera, Deutsch: Keyboard spielen, Português: Tocar Teclado, Español: tocar el teclado, Nederlands: Een toetseninstrument bespelen, Русский: играть на клавишах, 中文: 弹琴, Français: jouer au piano, Čeština: Jak hrát na klávesy, Bahasa Indonesia: Bermain Keyboard, Tiếng Việt: Chơi đàn, 한국어: 키보드 연주하는 법, 日本語: 鍵盤楽器を弾く


วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เครื่องหมายแปลงเสียง

เครื่องหมายแปลงเสียง


เป็นสัญลักษณ์ทางดนตรีที่ใช้เขียนกำกับหน้าตัวโน้ตหรือหลังกุญแจ ประจำหลักเมื่อต้องการแปลงเสียงให้สูงขึ้น ต่ำลง หรือกลับมาเป็นเสียงปกติเหมือนเดิม เครื่องหมายแปลงเสียงประกอบด้วย 5 ชนิด คือ

1. เครื่องหมายชาร์ป (Sharp) มีไว้สำหรับแปลงเสียงของตัวโน้ตให้มีระดับเสียงสูงขึ้น ½ เสียง (semitone) เช่น

2. เครื่องหมายแฟล็ท (Flat) มีไว้สำหรับแปลงเสียงของตัวโน้ตให้มีระดับเสียงต่ำหรือลดลง ½ เสียง (semitone) เช่น

3. เครื่องหมายเนเจอรัล (Natural) ไว้สำหรับแปลงเสียงของตัวโน้ตที่มีระดับสูงขึ้นหรือต่ำลง ½ เสียง (semitone) ให้กลับมาเป็นเสียงปกติ เช่น

4. เครื่องหมายดับเบิ้ลชาร์ป (double sharp) มีไว้สำหรับแปลงเสียงของตัวโน้ตให้มีระดับเสียงสูงขึ้นสองครึ่งเสียง หรือ 1 เสียงเต็ม (tone) เช่น
5. เครื่องหมายดับเบิ้ลแฟล็ท (Double flat) มีไว้สำหรับแปลงเสียงของตัวโน้ตให้มีระดับต่ำลงสองครึ่งเสียง หรือ 1 เสียงเต็ม เช่น


หมายเหตุ
-การเขียนเครื่องหมายแปลงเสียงทั้ง 5 ชนิดนี้ ต้องเขียนกำกับไว้หน้าและตำแหน่ง เดียวกันกับตัวโน้ต เช่น ตัวโน้ตคาบอยู่บนเส้นที่ 2 เครื่องหมายแปลงเสียงต้องอยู่หน้าตัวโน้ตบนเส้นที่ 2 เช่นกัน
-เครื่องหมายแปลงเสียงมีผลบังคับตัวโน้ตนั้น ๆ ภายใน 1 ห้องเพลงเท่านั้นยกเว้น เขียนกำกับไว้หลังกุญแจประจำหลัก


กุญแจประจำหลัก


กุญแจประจำหลัก (Clef) ถือว่าเป็นเครื่องหมายทางดนตรีที่สำคัญ เพื่อใช้ในการกำหนดหรือบงชี้ว่าตัวโน้ตแต่ละตัวมีชื่อเรียกว่าอย่างไร ในหนังสือเล่มนี้จะขอกล่าวถึงกุญแจประจำหลักที่สำคัญเพียง 2 กุญแจเท่านั้น คือ กุญแจประจำหลัก G (G Clef) และกุญแจประจำหลัก F (F Clef) ซึ่งทั้ง 2 กุญแจ มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปรากฎให้เห็นและใช้กันจนถึงปัจจุบัน ทั้ง 2 กุญแจนี้มักเรียกกันสั้น ๆ จนติดปากว่า กุญแจซอล และกุญแจฟา
1. กุญแจซอล
เป็นเครื่องหมายประจำหลักที่ใช้กันมากสำหรับบันทึกระดับเสียงของเครื่อง ดนตรีหรือเสียงร้องที่มีระดับกลางถึงสูง ภาษาอังกฤษเรียก “จี เคลฟ”(G Clef) หรือ “เทร็บเบิ้ล เครฟ” (Treble Clef) โดยทั่วไปเรียกว่า “กุญแจซอล” ในการเขียนกุญแจซอลบันทึกโดยหัวกุญแจให้คาบเส้นที่ 2 ของบรรทัด 5 เส้น โน้ตทุกตัวที่คาบอยู่บนเส้นที่ 2 ของบรรทัด 5 เส้น จะมีเสียงเดียวกับชื่อกุญแจคือ “ซอล” ดังตัวอย่าง


\
โดยปกติแล้วในทางดนตรีได้มีนักปราชญ์ทางดนตรีได้กำหนดชื่อเรียกระดับ เสียงตัวโน้ตและได้ถือปฏิบัติสืบเนื่องกันต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยจัดเรียงจากระดับเสียงต่ำไปหาสูง 7 เสียงดังนี้ C D E F G A B C ไม่ว่าระดับเสียงจะสูงหรือต่ำก็คงมีชื่อกำกับเพียง 7 เสียงหลัก ๆ เท่านั้น เพียงแต่การบันทึกโน้ตลงบนบรรทัด 5 เส้น เสียงที่เรียกชื่อเหมือนกัน แต่ระดับเสียงต่างกันเรียกว่ามีระยะขั้นคู่แปดระดับเสียงที่ต่างกันเราเรียก ว่า “อ๊อคเทฟ” (Octave)
จากข้างต้นเมื่อเราทราบชื่อของตัวโน้ตที่เรียงลำดับจากเสียงต่ำไปเสียง สูงแล้วและยังทราบชื่อตัวโน้ตที่คาบอยู่บนเส้นที่ 2 ของกุญแจซอลคือตัว “ซอล” แล้ว เราสามารถทราบชื่อโน้ตตัวอื่น ๆ ได้โดยการไล่เสียงขึ้น และลงตามลำดับได้ดังนี้
2. กุญแจฟา
เป็นเครื่องหมายประจำหลักที่ใช้กันมากสำหรับบันทึกระดับเสียงของเครื่อง ดนตรีหรือเสียงร้องที่มีระดับต่ำ ภาษาอังกฤษเรียก “เอฟ เคลฟ”(F Clef) หรือ “เบส เครฟ” (Bass Clef) โดยทั่ว ๆ ไปมักเรียกว่า “กุญแจฟา” ในการเขียนกุญแจฟาเขียนโดยหัวกุญแจให้คาบเส้นที่ 4 ของบรรทัด 5เส้น โน้ตทุกตัวที่คาบอยู่บนเส้นที่ 4 ของบรรทัด 5 เส้น จะมีเสียงเดียวกับชื่อกุญแจคือ “ฟา” ดังตัวอย่าง


จากข้างต้นเมื่อเราทราบชื่อของตัวโน้ตที่เรียงลำดับจากเสียงต่ำไปเสียง สูงแล้วและยังทราบชื่อตัวโน้ตที่คาบอยู่บนเส้นที่ 4 ของกุญแจฟาคือตัว “ฟา” แล้วเราสามารถทราบชื่อโน้ตตัว อื่น ๆ ที่บันทึกด้วยกุญแจฟาได้โดยการไล่เสียงขึ้น และลงตามลำดับได้ดังนี้





นอกจากการบันทึกโน้ตลงในบรรทัด 5 เส้นที่แยกระหว่างกุญแจซอลกับกุญแจฟาแล้วยังมีการบันทึกโน้ตอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า “บรรทัดรวม” (Grand Staff) โดยการนำเอากุญแจซอลและกุญแจฟาบันทึกลงพร้อม ๆ กัน บรรทัดประเภทนี้มักใช้สำหรับการเขียนโน้ตให้เปียโนบรรเลง