วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เครื่องหมายแปลงเสียง

เครื่องหมายแปลงเสียง


เป็นสัญลักษณ์ทางดนตรีที่ใช้เขียนกำกับหน้าตัวโน้ตหรือหลังกุญแจ ประจำหลักเมื่อต้องการแปลงเสียงให้สูงขึ้น ต่ำลง หรือกลับมาเป็นเสียงปกติเหมือนเดิม เครื่องหมายแปลงเสียงประกอบด้วย 5 ชนิด คือ

1. เครื่องหมายชาร์ป (Sharp) มีไว้สำหรับแปลงเสียงของตัวโน้ตให้มีระดับเสียงสูงขึ้น ½ เสียง (semitone) เช่น

2. เครื่องหมายแฟล็ท (Flat) มีไว้สำหรับแปลงเสียงของตัวโน้ตให้มีระดับเสียงต่ำหรือลดลง ½ เสียง (semitone) เช่น

3. เครื่องหมายเนเจอรัล (Natural) ไว้สำหรับแปลงเสียงของตัวโน้ตที่มีระดับสูงขึ้นหรือต่ำลง ½ เสียง (semitone) ให้กลับมาเป็นเสียงปกติ เช่น

4. เครื่องหมายดับเบิ้ลชาร์ป (double sharp) มีไว้สำหรับแปลงเสียงของตัวโน้ตให้มีระดับเสียงสูงขึ้นสองครึ่งเสียง หรือ 1 เสียงเต็ม (tone) เช่น
5. เครื่องหมายดับเบิ้ลแฟล็ท (Double flat) มีไว้สำหรับแปลงเสียงของตัวโน้ตให้มีระดับต่ำลงสองครึ่งเสียง หรือ 1 เสียงเต็ม เช่น


หมายเหตุ
-การเขียนเครื่องหมายแปลงเสียงทั้ง 5 ชนิดนี้ ต้องเขียนกำกับไว้หน้าและตำแหน่ง เดียวกันกับตัวโน้ต เช่น ตัวโน้ตคาบอยู่บนเส้นที่ 2 เครื่องหมายแปลงเสียงต้องอยู่หน้าตัวโน้ตบนเส้นที่ 2 เช่นกัน
-เครื่องหมายแปลงเสียงมีผลบังคับตัวโน้ตนั้น ๆ ภายใน 1 ห้องเพลงเท่านั้นยกเว้น เขียนกำกับไว้หลังกุญแจประจำหลัก


กุญแจประจำหลัก


กุญแจประจำหลัก (Clef) ถือว่าเป็นเครื่องหมายทางดนตรีที่สำคัญ เพื่อใช้ในการกำหนดหรือบงชี้ว่าตัวโน้ตแต่ละตัวมีชื่อเรียกว่าอย่างไร ในหนังสือเล่มนี้จะขอกล่าวถึงกุญแจประจำหลักที่สำคัญเพียง 2 กุญแจเท่านั้น คือ กุญแจประจำหลัก G (G Clef) และกุญแจประจำหลัก F (F Clef) ซึ่งทั้ง 2 กุญแจ มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปรากฎให้เห็นและใช้กันจนถึงปัจจุบัน ทั้ง 2 กุญแจนี้มักเรียกกันสั้น ๆ จนติดปากว่า กุญแจซอล และกุญแจฟา
1. กุญแจซอล
เป็นเครื่องหมายประจำหลักที่ใช้กันมากสำหรับบันทึกระดับเสียงของเครื่อง ดนตรีหรือเสียงร้องที่มีระดับกลางถึงสูง ภาษาอังกฤษเรียก “จี เคลฟ”(G Clef) หรือ “เทร็บเบิ้ล เครฟ” (Treble Clef) โดยทั่วไปเรียกว่า “กุญแจซอล” ในการเขียนกุญแจซอลบันทึกโดยหัวกุญแจให้คาบเส้นที่ 2 ของบรรทัด 5 เส้น โน้ตทุกตัวที่คาบอยู่บนเส้นที่ 2 ของบรรทัด 5 เส้น จะมีเสียงเดียวกับชื่อกุญแจคือ “ซอล” ดังตัวอย่าง


\
โดยปกติแล้วในทางดนตรีได้มีนักปราชญ์ทางดนตรีได้กำหนดชื่อเรียกระดับ เสียงตัวโน้ตและได้ถือปฏิบัติสืบเนื่องกันต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยจัดเรียงจากระดับเสียงต่ำไปหาสูง 7 เสียงดังนี้ C D E F G A B C ไม่ว่าระดับเสียงจะสูงหรือต่ำก็คงมีชื่อกำกับเพียง 7 เสียงหลัก ๆ เท่านั้น เพียงแต่การบันทึกโน้ตลงบนบรรทัด 5 เส้น เสียงที่เรียกชื่อเหมือนกัน แต่ระดับเสียงต่างกันเรียกว่ามีระยะขั้นคู่แปดระดับเสียงที่ต่างกันเราเรียก ว่า “อ๊อคเทฟ” (Octave)
จากข้างต้นเมื่อเราทราบชื่อของตัวโน้ตที่เรียงลำดับจากเสียงต่ำไปเสียง สูงแล้วและยังทราบชื่อตัวโน้ตที่คาบอยู่บนเส้นที่ 2 ของกุญแจซอลคือตัว “ซอล” แล้ว เราสามารถทราบชื่อโน้ตตัวอื่น ๆ ได้โดยการไล่เสียงขึ้น และลงตามลำดับได้ดังนี้
2. กุญแจฟา
เป็นเครื่องหมายประจำหลักที่ใช้กันมากสำหรับบันทึกระดับเสียงของเครื่อง ดนตรีหรือเสียงร้องที่มีระดับต่ำ ภาษาอังกฤษเรียก “เอฟ เคลฟ”(F Clef) หรือ “เบส เครฟ” (Bass Clef) โดยทั่ว ๆ ไปมักเรียกว่า “กุญแจฟา” ในการเขียนกุญแจฟาเขียนโดยหัวกุญแจให้คาบเส้นที่ 4 ของบรรทัด 5เส้น โน้ตทุกตัวที่คาบอยู่บนเส้นที่ 4 ของบรรทัด 5 เส้น จะมีเสียงเดียวกับชื่อกุญแจคือ “ฟา” ดังตัวอย่าง


จากข้างต้นเมื่อเราทราบชื่อของตัวโน้ตที่เรียงลำดับจากเสียงต่ำไปเสียง สูงแล้วและยังทราบชื่อตัวโน้ตที่คาบอยู่บนเส้นที่ 4 ของกุญแจฟาคือตัว “ฟา” แล้วเราสามารถทราบชื่อโน้ตตัว อื่น ๆ ที่บันทึกด้วยกุญแจฟาได้โดยการไล่เสียงขึ้น และลงตามลำดับได้ดังนี้





นอกจากการบันทึกโน้ตลงในบรรทัด 5 เส้นที่แยกระหว่างกุญแจซอลกับกุญแจฟาแล้วยังมีการบันทึกโน้ตอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า “บรรทัดรวม” (Grand Staff) โดยการนำเอากุญแจซอลและกุญแจฟาบันทึกลงพร้อม ๆ กัน บรรทัดประเภทนี้มักใช้สำหรับการเขียนโน้ตให้เปียโนบรรเลง


บุคคลิกภาพและจรรยาบรรณของนักดนตรี

บิคคลิกภาพและจรรยาบรรณของนักดนตรี
ไม่ว่าการศึกษาวิชาการดนตรีนั้น จะเป็นไปเพื่อบระกอบอาชีพ เพื่อประดับความรู้หรือเพี่อการอื่น ๆ ผู้ศึกษา เมื่อสามารถเล่นดนตรีเป็น อ่านโน้ตดนตรีได้ ย่อมได้ชื่อว่าเป็นนักตนตรีคนหนี่ง ความเก่งกาจสามารถมากหรือน้อย เป็นเรื่องทที่จะต้องฝึกฝนกันเอาเองในภายหลัง การที่นักดนตรีผู้ที่เก่งกว่าจะเหยีดหยามผู้ที่มีฝีมือด้อยกว่า ว่ามิใช่เป็นนักดนตรีที่แท้จริงนั้น ย่อมเป็นโลกทัศน์ที่ผิดเป็นอยางยิ่ง
การดนตรีก็เปรียบได้กับศาสตร์อื่นๆ ทั่วไป คือ มีทั้งงผู้ที่เก่งกว่าและผู้ที่ยัง อยู่ในระหว่างการฝึกฝน คือมีฝีมือที่ด้อยกว่า ดังนั้นสิ่งที่เราจะต้องคำนึงถึงไม่น้อยไปกว่าเนี้อหาทฤษฎีดนตรีก็คือการหมั่นฝึกฝนและสำรวจตนเองในเรื่องของโลกทัศน์ที่มีต่อดนตรี และเรื่องทั่วไป
คุณสมบัติของนักดนตรีที่ดี
๑. การขยันขันแข็งในการฝ้กซ้อม จะช่วยให้มความคล่องตัว ช่วยเพิ่มพูนฝีมือ เพิ่มพูนความเข้าใจ เพิ่มพูนความเร็ว การขยันฝึกซ้อมนั้น จะต้องทำให้เป็นนิสัย แม้จะได้ชื่อว่าเป็นผู้เก่งแล้ว ก็ยังต้องหมั่นฝึกซ้อมอยู่เสมอ
๒. หมั่นศึกษาหาความรู้ทางดนตรีเพิ่มเติมอยู่เสมอจากครู อาจารย์ จากเพื่อนร่วมงาน จากตำหรับตำรา จากการฟัง ฯลฯ วิวัฒนาการและเทคโนโลยี ก้าวไปบ้างหน้าตลอดเวลาถ้าหยุดศึกษา จะกลายเป็นคนล้าหลัง และตามเพื่อนพ้องไม่ทัน
๓. มีความละเอียดละออในการฟัง การอ่าน การเขียนและการเล่น อย่าปล่อยให้รายละเอียดที่ไพเราะน่าสนใจ หรือกลเม็ดต่างๆ ผ่านไป โดยมิได้กระทบประสาทสัมผัสของเรา
๔. หมั่นดูแลรักษาเครื่องมือประจำตัวที่ใช้ประกอบอาชีพ หรือเล่นเป็นประจำ ให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ เสียงทุกเสียงต้องไม่เพี้ยนเลย(เป็นอันขาด) สภาพของเครื่องตนตรีต้องใช้การได้ดีตลอดเวลา
๕. ลดอัตตาในตนเองให้มากที่สุด จงเป็นคนถอมตัว อย่าถือว่า ความคิดของตนเองเป็นใหญ่ อย่าคิดว่าเราเองต้องเป็นฝ่ายถูกตลอดกาล การคิดเช่นนั้นจะทำให้เราไม่ได้อะไร ที่ใหม่ๆ และกลายเป็นคนโง่ที่คิดว่าตัวเองฉลาด
ตนตรีนั้น เป็นศิลปะอิสระที่ไร้ขอบเขต เช่นเดียวกับภาพเขียน ความไพเราะ ไม่ได้อยู่ที่การเล่นถูกต้องตามต้นกำเนิดเดิม แต่อยู่ที่ผู้เล่นสามารถสื่อถึงผู้ฟังได้ดีเพียงไรในท่วงทำนองเดียวกัน เสียงประสานหรือคอร์ด อาจเปลี่ยนแปลงไปได้เสมอ ซึ่งขึ้นอยู่กับลีลาของเพลง และอารมณ์ที่ผู้เล่นต้องการให้เป็นไป การมีอัตตามาก จะทำให้เราถูกขังอยู่กับความคิดคำนึงของเราคนเดียว และไม่อาจก้าวพ้นไปรับความเป็นอิสระในทางความคิด ทั้งที่เราก็มีความสามารถในการสร้างสรรค์ได้ดีคนหนึ่ง
๖. อย่าตำหนิติเตียนผู้มีฝีมือด้อยกว่า จงแนะนำสิ่งที่น่าสนใจแก่เขา ตามกำลังความสามารถของเขาที่จะรับได้ จงให้กำลังใจแก่เขา และส่งเสริมให้เขามีฝีมือขึ้นมาเสมอเรา หรือก้าวไปกว่าเรา ความเจริญและความดีงามของสังคมอยู่ที่การมีคนที่มีคุณภาพจำนวนมาก
๗. เป็นคนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ไม่ว่าในหมู่เพื่อนร่วมงาน หรือผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ในธุรกิจการดนตรี รับฟังและเคารพในความคิดเห็นของคนอื่น อย่าเป็นตัวสร้างปัญหาให้กับบุคคลอื่นเสมอๆ จะทำาให้เรากลายเป็นบุคคลที่น่าเบื่อหน่าย
๘. เป็นผู้ที่ตรงต่อเวลา ไม่วาเป็นการนัดฝึกซ้อมหรือในการแสดงจริง ต้องตรงต่อเวลาจริงๆ ทั้งต้องเผื่อเวลาไว้สำหรับอุปสรรคในการเดินทางด้วย งานทุกงานควรเริมต้นและจบลงตามกาหนดการ
๙. เมื่อมีโอกาสถ่ายทอดความรู้สู่ผู้อื่น จงกระทำในลักษณะ แนะนำ แจกแจงให้เห็นจงอย่าสอน ถ้าจะสอนต้องคำนึงถึงความยอมรับในตัวเรา จากผู้เรียนให้มาที่สุด
๑๐. จงเคารพในสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น อย่าถือวิสาสะหยิบหรือเคลื่อนย้ายเครื่องมือของผู้อื่น โดยเจ้าของไม่ได้อนุญาตเสียก่อน
๑๑. จงเป็นผู้มองโลกในแง่ดีเสมอ ให้อภัยคน อย่าเป็นคนโกรธง่าย อย่าใช้ยาเสพติด เมื่อต้องการอารมณ์สุนทรีย์ นักดนตรีควรจะมีอารมณ์สุนทรีย์โดยธรรมชาติ มองโลกให้กว้าง
๑๒. อย่าเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น ทั้งฝีมือและพฤติกรรม คนแต่ละคนมีจริตและสิ่งเอื้ออำนวยที่แตกต่างกัน โดยธรรมชาติ ไม่มีอะไรที่จะเปรียบเทียบกันได้ ความกระตือรือร้นความทะเยอทะยานที่จะมีฝีมือและความรู้ที่มากขึ้น ควรขึ้นอยู่กับความท้าทายจากสิ่งที่เราเรียนรู้นี้ มิใช่เกิขึ้นเพราะอยากเอาชนะผู้อื่น เราจะไม่วันชนะใครตราบเท่าที่เราอยากเอาชนะ
                 ความเป็นนักดนตรี สิ่งที่จะต้องกระทบเป็นประจำคือเล่นดนตรีเพื่อสื่อถึงผู้ฟัง เท่ากับว่าตลอดเวลาเราทำงานเพื่อผู้อื่นอยู่แล้ว ดังนั้นจิตสำนึกของนักดนตรี จึงควรคิดถึงผู้อื่นก่อนตนเองจงทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อผู้อื่นได้รับความสุข เต็มที่ จะต้องนึกเสมอว่า สิ่งที่ออกไปจากเรา ผู้อื่นเขารับแล้วพอใจไหม ยินดีหรือไม่ การคิดคำนึงอย่างนี้จะทำให้เรากระทำแต่สิ่งที่ดีอยู่ตลอดเวลาและรับความ รู้สึกเป็นสุข ทึ่ได้ทำให้ผู้อื่นมีความสุข

ทฤษฎีดนตรีสากลเบื้องต้น

ทฤษฎีดนตรีสากลเบื้องต้น



ทฤษฎีดนตรีสากลเบื้องต้น
ทฤษฎีดนตรีสากลเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องศึกษาเพื่อเป็นแนวทางพื้นฐานสู่การปฏิบัติเครื่องดนตรีโน้ตดนตรีสากลและเครื่องหมายต่างๆ คือสัญลักษณ์ที่ให้ปฏิบัติ ดังนั้นทฤษฎีดนตรีสากลจึงควรศึกษาและฝึกเพื่อให้เกิดทักษะ ปฏิบัติจนเกิดความคล่องแคล่วด้วยความเข้าใจ
สาระการเรียนรู้
ทฤษฎีดนตรีสากล
กิจกรรฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
1. อธิบายทฤษฎีดนตรีสากลขันพื้นฐานได้
2. อ่าน เขียน สัญลักษณ์ต่างๆ ของดนตรีสากล และบันทึกโน้ตดนตรีสากลได้
ทฤษฎีดนตรีสากล
1. บรรทัดห้าเส้น (Staff)
บรรทัดห้าเส้น (Staff) ประกอบด้วยเส้นตรงขนานกันจำนวน 5 เส้น และช่องบรรทัดจำนวน 4 ช่อง โดยเส้นบรรทัดมีระยะห่างเท่ากัน การนับเส้นหรือบรรทัดห้าเส้นให้นับตามลำดับจากล่างไปบนโดยนับเส้นหรือช่องล่างสุดเป็น 1 2 3 4 5 ตามลำดับ ในการบันทึกตัวโน้ตและสัญลักษณ์ต่างๆ ทางดนตรีสากลจะบันทึกบนบรรทัดห้าเส้นเป็นหลัก

 2. ตัวโน้ต (Note)
ตัวโน้ต เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้บันทึกแทนระดับเสียง และความยาวของเสียง ส่วนประกอบสำคัญของตัวโน้ต ได้แก่ ส่วนหัวตัวโน้ต และส่วนหางตัวโน้ต ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะโน้ตต่างๆ
2.1 เมื่อตัวโน้ตอยู่ต่ำกว่าเส้นที่ 3 หางตัวโน้ตจะชี้ขึ้น
2.2 เมื่อตัวโน้ตอยู่สูงกว่าเส้นที่ 3 หางตัวโน้ตจะชี้ลง
2.3 เมื่อกลุ่มตัวโน้ตอยู่เส้นที่ 3 หางตัวโน้ตจะชี้ขึ้นหรือลงก็ได้ ขึ้นอยู่กับกลุ่มตัวโน้ต
การรวบรวมหางตัวเขบ็ต
โน้ตตัวเขบ็ตลักษณะเดียวกัน เช่น ตัวเขบ็ต 1 ชั้น หรือตัวเขบ็ต 2 ชั้น สามารถเขียนหางตัวโน้ตรวบรวมเป็นหมวดหมู่ เพื่อความสวยงามเป็นระเบียบง่ายต่อการอ่าน
3. ค่าตัวโน้ต
ค่าตัวโน้ต ลักษณะตัวโน้ตมีหลายลักษณะ ค่าตัวโน้ตลักษณะต่างๆ สามารถเปรียบเทียบค่าความยาวโน้ต และมีชื่อเรียกลักษณะโน้ตต่างๆ ดังนี้
ภูมิเปรียบเทียบค่าตัวโน้ต
แผนภูมเปรียบเทียบค่าตัวโน้ต
ตารางเปรียบเทียบค่านับ

จะเห็นว่าค่าจังหวะนับของโน้ตตัวกลมมากที่สุด ตัวขาว ตัวดำ ตัวเขบ็ต 1 ชั้น ตัวเขบ็ต 2 ชั้นและตัวเขบ็ต 3 ชั้น จะมีค่าลดลงทีละครั้งตามลำดับ เช่น


4. ตัวหยุด (Rest)
ตัวหยุด คือ สัญลักษณ์ทางดนตรีที่กำหนดให้เงียบเสียงหรือไม่ให้เล่นในระยะ เวลาตาม
ค่าตัวหยุดนั้นๆ ตัวหยุดมีหลายชนิดสอดคล้องกับตัวโน้ตลักษณะต่างๆ

ตัวหยุดลักษณะต่างๆ ตามค่าตัวโน้ต

5. เส้นน้อย (Leger Lines)
เส้นน้อย คือ เส้นสั้นๆ ที่อยู่ต่ำกว่าหรือสูงกว่าบรรทัดห้าเส้น มีระยะห่างเท่ากับบรรทัดห้าเส้นโน้ตที่อยู่ต่ำหรือสูงมากๆ จะต้องอาศัยเส้นน้อยตามลำดับ เช่นโน้ตที่คาบเส้นจะเรียงลำดับกับโน้ตที่อยู่ในช่องถ้าหากเส้นน้อยมีมากกว่าสามเส้น ควรใช้วิธีการเปลี่ยนกุญแจประจำหลักหรือใช้เครื่องหมายคู่แปดช่วย เพื่อให้สะดวกต่อการอ่าน
6. กุญแจ (Clef)
กุญแจ คือ สัญลักษณ์ทางดนตรีที่บันทึกไว้ที่บรรทัดห้าเส้น เพื่อกำหนดระดับเสียงโน้ตที่อยู่ในช่องและอยู่บนเส้นของบรรทัดห้าเส้น กุญแจที่ใช้ในปัจจุบันมี 3 แบบ ดังนี้
6.1 กุญแจซอล หรือกุญแจ G (G clef) คือ กุญแจที่กำหนดให้โน้ตซอล (G) อยู่บรรทัดเส้นที่ 2 กุญแจชนิดนี้นิยมมากในกลุ่มนักดนตรี นักร้อง ใช้กับเครื่องดนตรีที่นิยมทั่วไป เช่น กีตาร์ ไวโอลินทรัมเป็ต ฯลฯ กญแจซอลมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษ คือ เทรเบิลเคลฟ (Treble clef)
6.2 กุญแจฟา หรือกุญแจ F (F clef) คือ กุญแจที่กำหนดให้โน้ตฟา (F) อยู่บนเส้นที่ 4 กุญแจชนิดนี้นิยมใช้กับเสียงร้องหรือเครื่องดนตรีที่มีเสียงต่ำ เช่น เชลโล เบส ทรอมโบน ฯลฯกุญแจฟามีชื่อเรียกภาษาอังกฤษอีกชื่อคือ เบสเคลฟ (Bass clef)

กุญแจโดเทเนอร์ (Tenor clef) ใช้บันทึกโน้ตที่เล่นกับเชลโล และบาสซูน
6.3 กุญแจโด หรือกุญแจ C (C clef) คือ กุญแจที่กำหนดให้เสียงโด (C) อยู่บนเส้นใดก็ได้ของบรรทัดห้าเส้น ให้เป็นเสียงโดกลาง
กุญแจโดอัลโต
กุญแจโดอัลโต (A lot clef) ใช้บันทึกโน้ตที่เล่นกับวิโอลา
กุญแจโดเทเนอร์
กุญแจโดอัลโต (A lot clef) ใช้บันทึกโน้ตที่เล่นกับวิโอลา


7. การเรียกชื่อตัวโน้ต
การเรียกชื่อตัวโน้ตสากลที่นิยมมี 2 ระบบ ได้เเก่

7.1 ระบบโซฟา (So-Fa system) ใช้เรียกตัวโน้ตเรียงลำดับจากเสียงต่ำไปเสียงสูง ดังนี้ โด (Do) เร (Re) มี (Mi) ฟา (Fa) ซอล (Sol) ลา (La) ที (Ti)
7.2 ระบบตัวอักษร (Latter system) ใช้เรียกชื่อโน้ตเรียงลำดับจากเสียงต่ำไปเสียงสูง
ดังนี้ A B C D E F G โดยใช้ตัวอักษร A แทนด้วยตัว ลา

การเรียกชื่อโน้ตในกุญแจ
เมื่อใช้กุญแจซอล (G clef) เรียงลำดับจากตัวโด ดังนี้
เมื่อใช้กุญแจฟา (F clef) เรียงลำดับจากตัวโด ดังนี้
8. เส้นกันห้อง (Bar line)
เส้นกันห้อง คือ เส้นตรงแนวตั้งที่ขีดขวางบรรทัดห้าเส้น เพื่อกั้นแบ่งโน้ตในแต่ละห้อง ให้มีจำนวนจังหวะตามที่เครื่องหมายกำหนดจังหวะกำหนดไว้
8.1 ใช้กั้นห้องเพลง
8.2 ใช้กั้นจบตอนหรือจบท่อนเพลง โดยใช้เส้นกันห้องคู่ (Double Bar Line)
9. การเพิ่มค่าตัวโน้ต
การเพิ่มค่าตัวโน้ต และเพิ่มค่าตัวหยุด สามารถทำได้ดังนี้
9.1 การประจุด (Dot) คือ การประจุดที่ด้านขวาตัวโน้ต หรือที่ตัวหยุด จะมีผลให้ค่าโน้ตนั้นๆเพิ่มมากขึ้นครึ่งหนึ่งของค่าตัวโน้ตนั้น เช่น
   9.2 เครื่องหมายโยงเส้นทาย (Tie) ใช้กับโน้ตที่มีระดับเสียงเดียวกัน จะเพิ่มค่าเท่ากับค่าโน้ตสองตัวรวมกัน โดยจะเล่นที่โน้ตตัวแรก ลากเสียงไปสิ้นสุดที่ตัวสุดท้ายที่เครื่องหมายที่กำหนดไว้ เช่น
                9.3 ใช้สัญลักษณ์เฟอร์มาตา (Fermata) หรือเป็นเส้นโค้งครึ่งวงกลมมีจุดตรงกลาง ใช้บันทึกไว้ที่หัวโน้ต เพื่อเพิ่มค่าตัวโน้ตให้ลากยาวเท่าใดก็ได้ไม่ได้กำหนดไว้ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้เล่น เช่น
10. เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signature)
เครื่องหมายกำหนดจังหวะ คือ ตัวเลขสองตัวที่เขียนไว้หลังกุญแจ คล้ายลักษณะเลขเศษส่วนแต่ไม่มีเส้นขีดคั่นกลาง เลขตัวบนจะบอกว่า 1 ห้องเพลงมีกี่จังหวะ ส่วนเลขตัวล่างบอกโน้ตที่ใช้เป็นเกณฑ์ 1 จังหวะ เช่น
            นอกจากนี้เครื่องหมายกำหนดจังหวะ ยังมีลักษณะที่เป็นสัญลักษณ์ซึ่งใช้แทนตัวเลขได้ เช่น
11. อัตราจังหวะ
อัตราจังหวะ เป็นเครื่องหมายกำหนดอัตราจังหวะ ที่บอกถึงค่าตัวโน้ต และจำนวนจังหวะในแต่ละห้องเพลง อัตราจังหวะ (Time) เป็นกลุ่มโน้ตที่ถูกจัดแบ่งจังหวะเคาะที่เท่าๆ กันในแต่ละห้องเพลงและทำให้เกิดชีพจรจังหวะ (Pulse) คือ การเน้นจังหวะหนัก-เบา กลุ่มอัตราจังหวะโดยทั่วไปมี 3 ลักษณะคือ
11.1 อัตราจังหวะสองธรรมดา (Simple duple time) คือ จังหวะเคาะในแต่ละห้องเพลงมี 2 จังหวะ เช่น
11.2 อัตราจังหวะสามธรรมดา (Simple triple time) คือ จังหวะเคาะในแต่ละห้องเพลงมี 3 จังหวะ เช่น
11.3 อัตราจังหวะสี่ธรรมดา (Simple quadruple time) คือ จังหวะเคาะในแต่ละห้องเพลงมี 4 จังหวะ เช่น
เครื่องหมาย  > คือ การเน้นจังหวะที่โน้ตในจังหวะที่ 1 ของแต่ละอัตราจังหวะ

แสดงการเคาะอัตราจังหวะ 1 จังหวะ
พื้นฐานการเคาะ 1 จังหวะ อาจใช้การตบเท้าจากจุดเริ่มต้นตบเท้าลง คือ จังหวะตก แล้วยกเท้าขึ้นจุดเดิม คือ จังหวะยก

************************

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
1. นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง ตัวโน้ต ชื่อตัวโน้ตตัวหยุด สัญลักษณ์ต่างๆ โดยขอคำแนะนำจากครูผู้สอนหรือผู้รู้
2. นักเรียนจัดกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน หาโน้ตเพลงที่สนใจ ฝึกอ่านโน้ตเพลงบนบรรทัดห้าเส้น บอกชื่อโน้ตได้อย่างถูกต้อง
3. นักเรียนทำบัตรคำตัวโน้ต หรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องทางดนตรีสากล คนละ 2-5 ใบ ใช้แลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อถามเพื่อนในขั้นเรียน
คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้
ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1. โน้ตดนตรีสากล มีประโยชน์ต่อการเรียนดนตรีอย่างไร
2. เพราะเหตุใดผู้ฝึกเครื่องดนตรีสากลต้องฝึกอ่านโน้ตให้ชำนาญ